ความรู้เกี่ยวกับ สิทธิอาศัยตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

ความรู้เกี่ยวกับ สิทธิอาศัยตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

ความรู้เกี่ยวกับ สิทธิอาศัยตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1402 “บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า” เกี่ยวกับสิทธิอาศัยสามารถอธิบายให้เข้าใจถึงสาระสำคัญของสิทธิอาศัยได้ดังนี้

การได้มาซึ่งสิทธิอาศัย

ตามบทบัญญัติในบรรพ 4 ลักษณะ 5 เรื่องอาศัยแล้ว สามารถพิจารณาได้ว่าสิทธิอาศัยนั้น เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมเท่านั้น ไม่มีการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยโดยอายุความดังเช่นภาระจำยอมหรือการครอบครองปรปักษ์ รวมถึงกรณีที่เป็นการได้สิทธิอาศัยมาโดยพินัยกรรมก็ถือเป็นการได้มาทางนิติกรรมอย่างหนึ่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ดังนั้นนิติกรรมการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยจึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยจึงจะสามารถบังคับกันได้ในฐานะทรัพยสิทธิ แต่หากไม่จดทะเบียนก็จะบังคับกันได้เพียงในฐานะบุคคลสิทธิเท่านั้น

ลักษณะสำคัญของสิทธิอาศัย

1.สิทธิอาศัยนั้นจะก่อให้มีกำหนดเวลาหรือไม่มีกำหนดเวลาก็ได้แต่ถ้ามีกำหนดเวลาจะกำหนดกันให้เกิน 30 ปี ไม่ได้ หรือจะกำหนดให้มีเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ตามมาตรา 1403

2.สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนกันไม่ได้ หากผู้อาศัยตายในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดเวลาอาศัยที่ตกลงกันเอาไว้ สิทธิอาศัยก็สินไปไม่อาจตกทอดแก่ทายาทหรือโอนแก่กันทางมรดกได้ ตามมาตรา 1404

3.ตามมาตรา 1405 คำว่า “บุคคลในครอบครัว” นั้น หมายถึง ผู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในทางสมรสและสืบสายโลหิตกัน อันได้แก่ ลูก ภริยา พี่ น้อง พ่อ แม่  เป็นต้น ส่วนคำว่า “บุคคลในครัวเรือน” นั้น หมายถึง บุคคลเช่น สาวใช้ พี่เลี้ยงเด็ก เป็นต้น

4.ถ้าไม่ได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ทรงสิทธิอาศัยย่อมมีสิทธิที่จะเก็บเอาดอกผลธรรมดาหรือดอกผลแห่งที่ดินนั้นมาใช้ในครัวเรือนได้ แต่อย่างไรก็ดีแม้มีสิทธิเก็บเอาดอกผลธรรมดามาใช้ในครัวเรือนได้แต่จะเอาโรงเรือนออกให้เช่าหรือเอาดอกผลธรรมดาธรรมดาที่ได้เก็บมาแล้วนำไปออกขายไม่ได้ ซึ่งถือเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญกับสิทธิเก็บกิน ตามมาตรา 1406

5.หากผู้อาศัยได้ซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านเพื่อความสะดวกของตนเอง สิ่งที่ต่อเติมย่อมตกเป็นส่วนควบของเจ้าของ จะเรียกเอาค่าใช้จ่ายที่ได้ต่อเติมไปไม่ได้ เพราะกฎหมายถือว่าผู้อาศัยไม่มีหน้าที่ดังกล่าว ตามมาตรา 1407

6.การส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้อาศัยคืนให้แก่ผู้ให้อาศัย กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ส่งคืนในสภาพเดิมขณะที่ได้รับมอบมาจากผู้ให้อาศัย ดังนั้นผู้อาศัยเพียงแต่ส่งมอบคืนตามสภาพที่เป็นอยู่เท่านั้น ตามมาตรา 1408

7.หน้าที่และความรับผิดของผู้อาศัยนั้นให้นำบทบัญญัติเรื่องการเช่ามาใช้บังคับ ตามมาตรา 1409

ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายความแสงวรรณ

ทนายความแสงวรรณ เรือนเครือ

72/122 ม.7 ซ.8 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

โทร 084-5795609