ผู้เอาประกันภัยบอกกล่าวการโอนรถด้วยวาจา ให้ผู้แทนของผู้รับประกันภัยทราบแล้วจะมีผลอย่างไร กับสัญญาประกันภัย ?
บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง คือ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๗๕ ถ้าวัตถุอันได้เอาประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยบัญญัติกฎหมายก็ดี ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ย่อมโอนตามไปด้วย ถ้าในสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย อนึ่ง ถ้าในการโอนเช่นนี้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ
เมื่อผู้เอาประกันภัยรถยนต์ได้บอกล่าวการโอนรถที่เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยให้แก่ตัวแทนของผู้รับประกันภัยหรือผู้รับประกันภัยทราบแล้ว เห็นมีกรณีที่น่าสนใจว่าหากการที่บอกล่าวให้ทราบดังกรณีดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการบอกกล่าวด้วยวาจา เห็นว่าแม้การบอกกล่าวจะเป็นการบอกล่าวด้วยวาจา ก็ถือว่าผู้รับประกันภัยทราบแล้วเช่นเดียวกัน และถือว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยย่อมโอนไปยังผู้รับประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัย นั้น
กรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๖๓/๒๕๓๒
เมื่อผู้เอาประกันรถยนต์ได้บอกกล่าวการโอนรถที่เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยให้แก่ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบแล้ว แม้จะเป็นการบอกกล่าวด้วยวาจาก็ถือว่าผู้รับประกันภัยทราบแล้วเช่นเดียวกัน สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันย่อมโอนตามไปยังผู้รับโอนรถยนต์ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 วรรคสอง ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยนั้น
ดังนั้นพอสรุปได้ว่าอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัย(แม้การบอกกล่าวด้วยวาจา ) สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย
ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายความแสงวรรณ
ทนายความแสงวรรณ เรือนเครือ
72/122 ม.7 ซ.8 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทร 084-5795609