กรณีหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดร่วมกันต้องมีมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น หรือไม่

กรณีหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดร่วมกันต้องมีมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น หรือไม่

กรณีหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดร่วมกันต้องมีมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น หรือไม่

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ คือ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๑๔๙๐หนี้ ที่สามีภริยา เป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึง หนี้ที่ สามีหรือภริยา ก่อให้เกิดขึ้น ในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

                    (๑) หนี้ เกี่ยวแก่ การจัดการบ้านเรือน และ จัดหาสิ่งจำเป็น สำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึง การรักษาพยาบาล บุคคลในครอบครัว และ การศึกษา ของบุตร ตามสมควร แก่อัตภาพ

                    (๒) หนี้ที่ เกี่ยวข้องกับ สินสมรส

                    (๓) หนี้ที่ เกิดขึ้นเนื่องจาก การงาน ซึ่ง สามีภริยา ทำด้วยกัน

                    (๔) หนี้ที่ สามีหรือภริยา ก่อขึ้น เพื่อ ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

 

หนี้ร่วมของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) ต้องเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาที่กระทำขึ้นร่วมกันเท่านั้น ไม่รวมถึงหนี้ที่เกิดจากการทำละเมิดหรือการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย

 

โดยกรณีตามประเด็นดังกล่าวนี้มีคำพิพากษาตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๒๖๑/๒๕๕๕

หนี้ร่วมของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) ต้องเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาที่กระทำขึ้นร่วมกันเท่านั้น ไม่รวมถึงหนี้ที่เกิดจากการทำละเมิดหรือการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายเก็บเงินจากสมาชิกผู้กู้เป็นรายเดือนแล้วนำส่งเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ไม่ครบถ้วนตามฟ้อง อันมีลักษณะเป็นการยักยอกซึ่งเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องเรียกร้องเอาเงินคืนจากทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายโดยตรง การที่ผู้ตายนำเงินที่ยักยอกมาไปใช้จ่ายในครอบครัว จัดการบ้านเรือน จัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดูและรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวก็ไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1490 (1)

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๔๕/๒๕๔๐

หนังสือให้ความยินยอมของผู้ร้องมีข้อความให้คู่สมรสของผู้ร้องคือจำเลยที่2มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดเกี่ยวกับการจัดสินสมรสของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1477และผู้ร้องยังให้ความยินยอมแก่จำเลยที่2ให้มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดกับธนาคารโจทก์ได้โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ร้องเองเมื่อจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์ที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่าหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่ต้องรับผิดร่วมกันต้องมีมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ไม่รวมถึงมูลหนี้ละเมิด

ดังนั้นพอสรุปได้ว่าบุคคลต่างด้าว ไม่ได้เป็นบุคลต้องห้ามตามกฎหมาย ฉะนั้นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นผู้จัดการมรดกได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายความแสงวรรณ

ทนายความแสงวรรณ เรือนเครือ
72/122 ม.7 ซ.8 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทร 084-5795609