จุดสู้คดีความผิดฐานฉ้อโกง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
ความผิดฐานฉ้อโกงความผิดฐาน “ฉ้อโกง” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๑
แยกองค์ประกอบดังนี้
องค์ประกอบภายนอก
(๑) ผู้ใด
(๒) หลอกลวงโดยการ
(ก) แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ
(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(๓) ผู้อื่น
(๔) โดยการหลอกลวงดังว่านั้น
(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือ
(ข) ทำให้ผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ
องค์ประกอบภายใน (๑) เจตนาธรรมดา (๒) เจตนาพิเศษ “โดยทุจริต”
ตัวอย่าง เอาสร้อยข้อมือทองคำปลอมมาขายให้แก่แดงโดยอ้างว่าเป็นทองคำแท้ แดงหลงเชื่อจึงรับซื้อฝากไว้เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท มีความผิดฐานฉ้อโกง
ตัวอย่าง ด่าหลอกซื้อโคจากแดงโดยให้แดงนำโคไปส่งที่บ้านแล้วดำจะชำระ ราคาให้ เมื่อแดงนำโคไปส่งแล้ว กลับเบี่ยงบ่ายขอชำระในวันรุ่งขึ้น และคืนนั้นก็พาโค หนีไป เห็นได้ว่า เจตนาทุจริตหลอกลวงแดงโดยไม่มีเจตนาจะใช้ราคาโคมาแต่เริ่มต้น จึงผิดฐานฉ้อโกง
ตัวอย่าง ใช้อุบายทำที่ไปติดต่อขอซื้อผ้าจากแดงทั้งที่มิได้เตรียมเงินมาให้ พร้อม โดยหลอกให้แดงขนผ้าขึ้นรถที่เตรียมมา แล้วจึงบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน ๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือให้ตามเก็บ เมื่อแดงเผลอก็นำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านของแดงทันที โดยมิได้ชำระเงิน เป็นความผิดฐานฉ้อโกง (ฎีกาที่ ๖๓๓/๒๕๔๖ ฎ.ส.ล. ๗. น. ๕)
ข้อสังเกต ความผิดฐาน ฉ้อโกง ใกล้เคียงกันมากกับความผิดฐาน ลักทรัพย์โดย ใช้อุบาย ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ว่า ทั้งสองกรณีเป็นการที่ผู้กระทำหลอกลวงด้วยกันทั้งนั้น แต่การหลอกในเรื่องฉ้อโกงนั้น มีการ “ได้ไป” ซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอก การได้ไป ซึ่งทรัพย์สินหมายความถึงได้ไปในลักษณะโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น หากหลอกให้โอน “กรรมสิทธิ์” ก็เป็นฉ้อโกง ด้วยเหตุนี้ การหลอกเอา “การครอบครอง” ก็จะเป็นฉ้อโกงไม่ได้ จึงเป็นการลักทรัพย์นั่นเอง แต่ก็ถือเป็น “ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย
ตัวอย่าง ต้องการขโมยรถจักรยานของแดง เมื่อเห็นว่าแดงนํารถจักรยานมา ฝากไว้ที่ร้านของเขียวซึ่งเป็นร้านรับจ้างฝากรถจักรยาน และเขียวเอาบัตรเบอร์ ๒๙๕ แขวน ไว้ที่รถของแดงโดยเขียวมอบบัตรเบอร์ ๒๙๕ ให้แดงไป ต่อมาเมื่อเขียวเผลอ จึงแอบลัก เอาบัตรเบอร์ ๒๙๐ ของเขียวที่เอายางรัดไว้เป็นคู่ๆ ในกล่องบนโต๊ะที่ข้างประตูเข้าออกไป แล้วลักลอบเอาเบอร์ ๒๙๕ ที่แขวนอยู่ที่รถของแดงทิ้งเสียโดยเอาเบอร์ ๒๙๐ แขวนไว้ที่ รถของแดงแทน แล้วก็ออกจากร้านไป หลังจากนั้นก็กลับมาที่ร้านรับฝากรถของ เขียวอีก โดยนำเบอร์ ๒๙๐ มาแสดงเพื่อขอรับรถของแดง เขียวจำได้ว่าไม่ใช่ผู้ฝาก รถคันนี้จึงไม่ยอมให้ จึงพูดว่า รถของเพื่อนเปลี่ยนกัน เขียวไม่แน่ใจว่ารถของแดง บัตรเบอร์อะไร จึงได้ให้รถแก่ดำไป ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผิดฐานลักทรัพย์ โดยอ้างฎีกาที่ ๒๔๔/๒๔๙๑ น. ๓๘๗ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ผิดฐานฉ้อโกงโดยอ้างฎีกาที่ ๑๐๐๔/๒๕๔๙ น. ๕๕๔ อย่างไรก็ตาม ฎีกาที่ ๑๔๖๓/๒๕๐๓ น. ๑๖๓๑ ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของ เป็นชั้นๆ ตามลำดับมานั้น เป็นวิธีการของดำในการลักรถจักรยานของแดงคันนั้น