หลักการใดบ้าง ที่ใช้การกล่าวอ้างการสมรสที่เป็นโมฆะ
การกล่าวอ้างว่าการสมรสใดเป็นโมฆะสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้
- การสมรสเป็นโมฆะในกรณีปกติอัน ได้แก่ การสมรสของคนวิกลจริตหรือบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามมาตรา 1449 การสมรสระหว่างญาติสนิทตามมาตรา 1450 และการสมรสที่ชายหญิงไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1458 โดยบุคคลใดๆ จะกล่าวอ้างว่าการสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะในทันทีไม่ได้ จะต้องมีการนำคดีมาสู่ศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะเสียก่อน และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะแล้วจึงจะกล่าวอ้างได้ว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ โดยการนำคดีขึ้นมาสู่ศาลนั้นอาจทำได้ 2 กรณีคือ
1.1) คู่สมรสบิดาและมารดาหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสเป็นผู้ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ
1.2) พนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอแทนโดยผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้พนักงานอัยการดำเนินการดังกล่าวเมื่อไม่มีคู่สมรสบิดามารดาหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสนั้นแล้ว ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอแทนนี้โดยปกติทั่วไปแล้วพนักงานอัยการโดยตนเองไม่มีสามารถที่จะร้องขอต่อศาลได้โดยลำพัง จะสามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้มีส่วนได้เสียมาร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลแล้วอัยการก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะโดยทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาทได้ไม่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
- การสมรสเป็นโมฆะในกรณียกเว้น ได้แก่ การสมรสซ้อนนั้นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นในทันทีได้โดยไม่จำต้องนำคดีขึ้นมาสู่ศาลก่อนเหมือนเช่นกรณีปกติทั้งนี้เพราะการสมรสซ้อนเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นประจักษ์ได้โดยง่ายอย่างไรก็ดีการกล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะโดยผู้มีส่วนได้เสียตามลำพังนั้นในบางกรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่ยอมรับและอาจจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้เพราะยังมิได้มีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรสผู้มีส่วนได้เสียจึงจำเป็นที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะด้วยเช่นสามีจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่หนึ่งในเดือนมกราคมแล้วมาจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่สองในเดือนกุมภาพันธ์ต่อมาในเดือนมีนาคมภริยาคนที่หนึ่งถึงแก่ความตายสามีจึงจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่สามในเดือนเมษายนเช่นนี้ถ้าพิจารณา แต่เฉพาะวันที่ที่จดทะเบียนสมรสระหว่างคนที่สองกับภริยาคนที่สามแล้วดูประหนึ่งว่าการสมรสของภริยาคนที่สามเป็นการสมรสซ้อนซึ่งในความจริงแล้วการสมรสของภริยาคนที่สามมิใช่การสมรสซ้อน แต่สมบูรณ์ทุกประการ
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายความแสงวรรณ