แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุวันทำสัญญาประกันภัย ไม่ตรงกับ วันที่ให้เริ่มระยะเวลาประกันภัยเริ่มมีผล จะมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร และแม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถยนต์สูญหายจะมิได้กำหนดว่าในเรื่องรถยนต์สูญหายอันเกิดจากความผิดฐานฉ้อโกง ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้
#คำพิพากษาฎีกาที่ 12377/2558
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกันตามคำขอเอาประกันภัยรถยนต์ระบุว่า อ. ขอเอาประกันภัยรถยนต์เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2551 โดยมีประสงค์ให้กรมธรรม์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 2551 ถึงวันที่ 9 ก.ค. 2552
แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุวันทำสัญญาประกันภัยวันที่ 3 ก.ค. 2551 แต่การที่โจทก์ยินยอมระบุให้ระยะเวลาประกันภัยเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 2551 สิ้นสุดวันที่ 9 ก.ค. 2552 ตามคำขอของ อ. สัญญาประกันจึงเกิดขึ้นและมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 2551 หาได้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2551 ไม่ เมื่อเหตุละเมิดเกิดขึ้นวันที่ 13 ก.ค. 2551จึงเกิดในระยะเวลาประกันภัย ส่วนการออกกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2551 เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อการฟ้องร้องบังคับคดีตามป.พ.พ.มาตรา 867 วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเวลาภายหลังจากที่สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายในระยะเวลาที่สัญญาประกันภัยมีผลบังคับและโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อรถยนต์แล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869
ดังนั้น พอสรุปได้ว่า แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุวันทำสัญญาประกันภัย ไม่ตรงกับ วันที่ให้เริ่มระยะเวลาประกันภัยเริ่มมีผล ก็ให้ถือวันที่ให้เริ่มระยะเวลาประกันภัยเริ่มมีผล
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายความแสงวรรณ
ทนายความแสงวรรณ เรือนเครือ
72/122 ม.7 ซ.8 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทร 084-5795609