ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำละเมิดแล้วตาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไรบ้าง

ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำละเมิดแล้วตาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไรบ้าง

ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำละเมิดแล้วตาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไรบ้าง

ตามมาตรา มาตรา ๔๔๓ ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่า ปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย

ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้ง ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้น ด้วย

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะ ตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหม ทดแทนเพื่อการนั้น”

ค่าสินไหมทดแทนกรณีตาย ๔๔๕ ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกาย หรือ อนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพัน ตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนนั้น จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาด แรงงานอันนั้นไปด้วย”

ในกรณีละเมิดทำให้เขาถึงตาย ก็เรียกค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะตามที่ กำหนดไว้ในสองมาตรานี้เท่านั้น นอกเหนือจากนี้เรียกไม่ได้ ไม่อาจเรียก ค่าสูญเสียบุตร  ค่าเศร้าโศกเสียใจและผิดหวัง ค่าชอกช้ำระกำใจ  ค่าวิปโยคโสมนัสค่าว้าเหว่เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตมีความสุข หรือค่าความอบอุ่นที่ขาดหายไป เพราะสองมาตรานี้ไม่ได้ บัญญัติให้เรียกร้องได้