ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ซึ่งไม่มีหนังสือสัญญามีความผิดทางอาญาหรือไม่

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ซึ่งไม่มีหนังสือสัญญามีความผิดทางอาญาหรือไม่

  • สรุป
  • โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 แต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 3 ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ” ดังนั้น การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่มีอยู่จริง แต่ไม่ปรากฏว่าการยืมเงินของจำเลยทั้งสองตามเช็คพิพาทแต่ละฉบับซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ยืม หนี้เงินยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด